วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พระธาตุขามแก่น


พระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ที่วัดเจติยภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นปูชนียสถานของจังหวัดขอนแก่น บ้านขามเคยเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเวลาประมาณ 2000 ปี ตั้งแต่ พ.ศ 500 ต่อมาเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ชื่อ เพี้ยเมืองแพน (ปัจจุบันคือ จังหวัดร้อยเอ็ด) ได้มาตั้งเมืองขามแก่นที่ บ้านขาม พุทธศตวรรษที่ 5 พระยาหลังเขียว หรือโมริย กษัตริย์เจ้าเมืองโมรีย์ (เมืองโมรีย์อยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชา) สร้างพระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ในวัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม



ประเพณี  งานฉลองและนมัสการพระธาตุขามแก่น ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 การสักการะ ใช้ธูป เทียน ดอกไม้ ขันแปดเก้า ในวันขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน พระธาตุขามแก่น พระธาตุขามแก่นเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่เมืองขอนแก่นและเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเจติภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง อยู่ห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ 30 กิโลเมตร เดินทางไปตามถนนสายขอนแก่น -กาฬสินธุ์ เลี้ยวซ้ายที่หลักกิโลเมตรที่ 12 บ้านโคกสี เป็นถนนราดยางตลอด มีป้ายบอกทางไปพระธาตุ ขามแก่นเป็นระยะๆ จนถึงองค์พระธาตุ พระธาตุขามแก่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสามเหลี่ยมทรงอีสาน องค์พระธาตุสูง 19 เมตร

          ฐานด้านทิศตะวันออกและตะวันตกกว้าง 10.90 เมตรเท่ากัน รอบองค์พระธาตุมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ทั้ง 4 ด้าน สูง 1.20 เมตร กำแพงแก้วห่างจากองค์พระธาตุโดยเฉลี่ย 2.30 เมตร ทุกด้านมีประตูเข้าออก ด้านทิศเหนือ 2 ช่อง และทิศใต้ 2 ช่อง กว้างช่องละ 1 เมตร ตำนานพระธาตุขามแก่น ประมาณ พ.ศ. 3 พระมหากัสสปได้นำเอาพระอุรังคธาตุของพระ พุทธเจ้ามาประดิษฐานที่ภูกำพร้าและได้สร้างองค์พระธาตุพนมขึ้น พระยาหลังเขียวโมรียกษตริย์ทราบ ข่าวดังนั้น เกิดศรัทธาใคร่นำพระอังคารมาบรรจุไว้ด้วยกัน จึงได้เดินทางมาพร้อมกับข้าราชบริพาร และพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์
          ในระหว่างเดินทางได้ผ่านดอนมะขามแห่งหนึ่งเป็นเวลาค่ำพอดี จึงได้พา กันพักแรมในสถานที่นี้ ในบริเวณที่พักมีต้นมะขามตายต้นใหญ่ต้นหนึ่ง มีแต่แก่นข้างใน จึงได้เอาพระ อังคารเก็บไว้ในต้นมะขามต้นนี้ ครั้งเมื่อเดินทางต่อไปยังภูกำพร้า ปรากฏว่าองค์พระธาตุพนมสร้างเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว จึงต้องเดินทางกลับถิ่นเดิม เมื่อเดินทางมาถึงดอนมะขามบริเวณที่พักที่เดิมก็พบว่าต้นมะขามที่ตายเหลือแต่แก่นต้นนั้น กลับยืนต้นแตกกิ่งก้านสาขา มีใบเขียวชะอุ่ม และดูงามตาเป็นอัศจรรย์ พระยาหลังเขียวและพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ จึงตกลงใจสร้างพระธาตุครอบต้นมะขาม โดยบรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยแก้วแหวนเงินทอง โดยทำเป็นพระพุทธรูปแทนพระองค์เข้าบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ และก่อสร้างบ้านเรือน ณ บริเวณใกล้ๆพระธาตุ
          ส่วนพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ก็ได้จัดสร้างวัดเคียงคู่พระธาตุ เมื่อพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ประชาชนได้นำพระธาตุของพระอรหันต์บรรจุไว้ในพระธาตุองค์เล็กซึ่งอยู่ใกล้พระธาตุขามแก่นเรียกว่าครูบาทั้งเก้า เจ้ามหาธาตุ มาจนทุกวันนี้ทุกวันเพ็ญ เดือน 6 จะมีงานฉลององค์พระธาตุขามแก่นเป็นงานประจำปี